เป้าหมายการพัฒนาด้านใน หรือ IDGs (Inner Development Goals) คือ อะไร

เมื่อเราพบว่าการขับเคลื่อน SDGs จำเป็นต้องอาศัยการพัฒนาด้านใน ในวันนี้ จึงเกิด IDGs ขึ้น เพื่อเป้าหมายการพัฒนาด้านใน และ แพลตฟอร์ม InnerCorner จะร่วมส่งเสริมการพัฒนาด้านในตามเป้าหมาย IDGs

จุดเริ่มต้น

Inner Development Goals (IDGs) เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรสำหรับการพัฒนาด้านใน เราค้นคว้า รวบรวม และสื่อสารทักษะและคุณสมบัติด้านวิทยาศาสตร์ที่ช่วยให้เราดำเนินชีวิตอย่างมีจุดมุ่งหมาย ยั่งยืน และมีประสิทธิผล

กรอบเป้าหมายการพัฒนาด้านใน (IDGs) เป็นพื้นฐานในการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

ทำไม

ในปี 2558 (2015) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ทำให้เรามีแผนงานที่ครอบคลุมสำหรับโลกที่ยั่งยืนภายในปี 2573 (2030) ประกอบด้วย เป้าหมาย 17 ข้อ ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ มากมายที่เกี่ยวข้องกับผู้คนที่มีความต้องการ ค่านิยม และความเชื่อมั่นที่แตกต่างกัน มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับสิ่งที่จำเป็นต้องเกิดขึ้น

แต่ความคืบหน้ายังคงเป็นเรื่องที่น่าผิดหวัง นั่นเพราะ เราขาดความสามารถด้านใน ที่จะจัดการกับสภาพแวดล้อมและความท้าทายที่ซับซ้อน โชคดีที่การวิจัยสมัยใหม่แสดงให้เห็นว่า ความสามารถด้านใน ที่เราทุกคนต้องการ สามารถพัฒนาได้ นี่เป็นจุดเริ่มต้นของการริเริ่ม "เป้าหมายการพัฒนาด้านใน" หรือ IDGs (Inner Development Goals)

อะไร

IDGs จะจัดเตรียมกรอบทักษะที่จำเป็นสำหรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นชุดเครื่องมือภาคสนาม (ในการร่วมกันสร้างในขณะนี้) เกี่ยวกับวิธีพัฒนาทักษะที่จำเป็นเหล่านี้ - แหล่งข้อมูลที่เปิดและไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับทุกคนที่จะใช้ ปัจจุบัน กรอบ IDGs ประกอบด้วย 5 มิติ และ 23 ทักษะ/คุณสมบัติ ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้นำที่จัดการกับ SDGs แต่เป็นพื้นฐานสำหรับพวกเราทุกคน! เป็นตัวเร่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เป็นไปได้ในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และสร้างอนาคตที่รุ่งเรืองสำหรับมวลมนุษยชาติ

อย่างไร

ความคิดริเริ่ม IDGs มีการสร้างสรรค์ร่วมกันที่ส่วนกลาง ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และการเปิดรับข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ นักวิทยาศาสตร์ ผู้ปฏิบัติงาน และองค์กรต่างๆ ทั่วโลกมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปี 2021 มีการเผยแพร่รายงาน IDGs ฉบับแรกที่อธิบายภูมิหลัง วิธีการ และกรอบการทำงานด้วย 5 มิติและ 23 ทักษะการเปลี่ยนแปลง

รายงานนี้แสดงผลลัพธ์ของการสำรวจออนไลน์สองรายการโดยอิงจากข้อมูลจากผู้เข้าร่วมมากกว่า 1,000 คน เราร่วมกันสร้างในชุมชนร่วมกับองค์กรสนับสนุน 23 องค์กร และจนถึงขณะนี้ได้จัดการประชุม MindShift - Growth that Matters มาแล้วสามครั้ง โดยมีผู้เข้าร่วมที่กระตือรือร้นทั้งหมดกว่า 3,000 คน

 

IDGs Framework

IDGs Framework ประกอบด้วย ทักษะและคุณสมบัติ 23 ประการ ที่ถูกจัดแบ่งเป็น 5 มิติ ได้แก่ (1) การดำรงอยู่ - ความสัมพันธ์กับตนเอง (Being — Relationship to Self) (2) การคิด - ทักษะการรู้คิด (Thinking — Cognitive Skills) (3) ความสัมพันธ์ - การใส่ใจผู้อื่นและโลก (Relating — Caring for Others and the World) (4) ความร่วมมือ - ทักษะทางสังคม (Collaborating — Social Skills) และ (5) การลงมือทำ - สร้างการเปลี่ยนแปลง (Acting — Enabling change)

IDGs Framework ได้รับการพัฒนาโดยทีมนักวิจัยนานาชาติ หลังจากการปรึกษาหารืออย่างกว้างขวาง ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้คนมากกว่าพันคน

 

มิติที่ 1. Being — Relationship to Self

การดำรงอยู่ - ความสัมพันธ์กับตนเอง (Being — Relationship to Self) คือ การบ่มเพาะชีวิตด้านในของเรา การพัฒนาและกระชับความสัมพันธ์ กับความคิด ความรู้สึก และร่างกายของเรา ช่วยให้เราดำรงอยู่ในปัจจุบัน มีความมุ่งมั่นตั้งใจ และมีความพร้อมที่จะเผชิญกับความสลับซับซ้อน (Complexity)
 

Inner Compass

มีความรู้สึกอย่างลึกซึ้งถึงความรับผิดชอบและความมุ่งมั่นต่อคุณค่าและเจตจำนงที่เกี่ยวข้องกับความดีของส่วนรวม

Integrity and Authenticity

ความมุ่งมั่นและความสามารถในการทำงานด้วยความจริงใจ ซื่อสัตย์ และซื่อตรง

Openness and Learning Mindset

มีกรอบคิดพื้นฐานในการสนใจใคร่รู้ และความเต็มใจที่จะสามารถเปราะบางได้ และโอบรับการเปลี่ยนแปลงและการเติบโต

Self-awareness

ความสามารถในการสัมผัสรับรู้ความคิด ความรู้สึก และความปรารถนาของตนเอง มีภาพแห่งตัวตนตามจริง และสามารถนำตนเองได้

Presence

ความสามารถที่จะดำรงอยู่ ณ ที่นี่และขณะนี้ (Here and Now) โดยปราศจากการตัดสิน ดำรงอยู่ในสภาวะของการเปิดรับอย่างเปิดกว้างเป็นอิสระ โดยไม่มีธงในใจ

 

มิติที่ 2. Thinking — Cognitive Skills

การคิด - ทักษะการรู้คิด (Thinking — Cognitive Skills) คือ การพัฒนาทักษะการรับรู้ของเราผ่านมุมมองที่แตกต่าง ประเมินข้อมูล และรู้สึกถึงโลก ผ่านการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันของทุกสรรพสิ่ง ที่เป็นสาระสำคัญเพื่อการตัดสินใจอย่างชาญฉลาด
 

Critical Thinking

ทักษะในการทบทวนความถูกต้องของมุมมอง หลักฐาน และแผนการอย่างมีวิจารณญาณ

Complexity Awareness

ความเข้าใจและทักษะในการทำงานกับเงื่อนไขและสาเหตุที่สลับซับซ้อนและเป็นระบบ

Perspective Skills

ทักษะในการแสวงหา ทำความเข้าใจ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกจากมุมมองที่แตกต่างด้วยความกระตือรือร้น

Sense-making

ทักษะในการแสวงหา รูปแบบ การจัดโครงสร้างสิ่งที่ไม่รู้และสามารถสร้างเรื่องราวได้อย่างมีสติ

Long-term Orientation and Visioning

การมุ่งเน้นในระยะยาว และความสามารถในการกำหนดและรักษาพันธสัญญาต่อวิสัยทัศน์ ที่เกี่ยวข้องกับบริบทที่กว้างขึ้น

 

มิติที่ 3. Relating — Caring for Others and the World

ความสัมพันธ์ - การใส่ใจผู้อื่นและโลก (Relating — Caring for Others and the World)  คือ การชื่นชมคุณค่า ความห่วงใย และความรู้สึกเชื่อมโยงกับผู้อื่น เช่น เพื่อนบ้าน คนรุ่นหลัง หรือโลกที่มีชีวิต ช่วยให้เราสร้างระบบและสังคมที่ยุติธรรมและยั่งยืนมากขึ้นสำหรับทุกคน
 

Appreciation

เชื่อมโยงสัมพันธ์กับผู้คนและโลก ด้วยพื้นฐานแห่งความชื่นชม ความรู้สึกขอบคุณ และความเบิกบาน

Connectedness

มีความรู้สึกกระตือรือร้นในการเชื่อมโยง เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ใหญ่กว่า เช่น ชุมชน มนุษยชาติ หรือระบบนิเวศของโลก

Humility

สามารถทำตามความต้องการของสถานการณ์ โดยไม่กังวลเกี่ยวกับความสำคัญส่วนตน

Empathy and Compassion

ความสามารถในการสัมพันธ์กับผู้อื่น ตนเอง และธรรมชาติ ด้วยความเมตตา ความเข้าใจความรู้สึก ความกรุณา และจัดการกับความทุกข์ที่เกี่ยวข้อง

 

มิติที่ 4. Collaborating — Social Skills

ความร่วมมือ - ทักษะทางสังคม (Collaborating — Social Skills) เพื่อสร้างความก้าวหน้าในข้อกังวลที่มีร่วมกัน เราจำเป็นต้องพัฒนาความสามารถของเราเพื่อรวม, รักษาพื้นที่ และสื่อสารกับผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งมีคุณค่า ทักษะ และสมรรถนะที่แตกต่างกัน
 

Communication Skills

ความสามารถในการรับฟังผู้อื่น ส่งเสริมการสนทนาที่แท้จริง ขยายมุมมอง บริหารจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ และปรับเปลี่ยนการสื่อสารให้เข้ากับกลุ่มที่หลากหลาย

Co-creation Skills

ทักษะและแรงจูงใจในการสร้าง พัฒนา และเอื้ออำนวยความสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกัน กับผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีความหลากหลาย ให้มีความปลอดภัยทางใจ (Psychological Safety) และร่วมกันสร้างสรรค์ได้อย่างแท้จริง

Inclusive Mindset and Intercultural Competence

ความเต็มใจและความสามารถในการโอบรับความหลากหลายและรวมผู้คนและกลุ่มคน ที่มีมุมมองและภูมิหลังที่แตกต่างกัน

Trust

ความสามารถในการแสดงความไว้วางใจ สร้างและรักษาความสัมพันธ์ที่น่าไว้วางใจ

Mobilization Skills

ทักษะในการสร้างแรงบันดาลใจ และระดมพลให้มีความผูกพันในการเจตจำนงร่วมกัน

 

มิติที่ 5. Acting — Enabling change

การลงมือทำ - สร้างการเปลี่ยนแปลง (Acting — Enabling change) คือ คุณภาพต่าง ๆ เช่น ความกล้าหาญ และการมองเชิงบวก ช่วยให้เราเป็นตัวแทนที่แท้จริง ในการออกจากแบบแผนเดิม ๆ ก่อเกิดแนวคิดตั้งต้นต่าง ๆ และลงมือทำด้วยความพากเพียร ในช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน
 

Courage

ความสามารถในการยืนหยัดเพื่อคุณค่า ตัดสินใจ ดำเนินการอย่างเด็ดขาด และหากจำเป็นก็จะท้าทายและขัดขวางโครงสร้างและมุมมองที่มีอยู่

Creativity

ความสามารถในการสร้างและพัฒนาแนวคิด นวัตกรรม และอยากจะท้าทายเปลี่ยนแปลงแบบแผนเดิม ๆ

Optimism

ความสามารถในการรักษาและสื่อสารความรู้สึกของความหวัง ทัศนคติเชิงบวก และความมั่นใจในความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมาย

Perseverance

ความสามารถในการรักษาความผูกพันและยังคงมุ่งมั่นและอดทน แม้ความพยายามนั้น จะต้องใช้เวลานานกว่าจะเกิดผล

 

เป้าหมายการพัฒนาด้านใน (IDGs) เป็นความคิดริเริ่มที่ไม่หวังผลกำไร และเป็นแหล่งข้อมูลที่เปิดให้ใช้ได้ วีดีโอด้านล่างนี้ เราจะได้พบกับผู้ก่อตั้ง ฟังคำแนะนำจากคณะกรรมการที่ปรึกษา และผู้ร่วมสร้างนักวิจัย และเรียนรู้ว่ากรอบ IDGs สามารถช่วยเร่งการทำงานเพื่อไปสู่ Global Goals หรือ SDGs ของ UN ได้อย่างไร

 

เราเห็นภาวะผู้นำล้มเหลวมากมาย
เพราะผู้นำขาดการรับรู้ถึงความจริง
หรือพูดอีกอย่างก็คือ "ขาดการฟัง"
 
ฉันเชื่อว่า
การฟังไม่ใช่แค่ความสำคัญ
แต่คือความสำคัญที่สุด 
"ขาดการฟัง" ทำให้ภาวะผู้นำ
เกิดความล้มเหลว ในวันนี้
 
--- ออตโต ชาเมอร์ ---
 
ผู้ก่อตั้งทฤษฎีตัวยู
MIT Sloan School of Management.
 
 
"We see a lot of leadership failure.
Leaders being out of touch with reality.
So, in other words,
it's a lack of listening.
So, listening, I believe,
is not just an important one.
It's the most important and most
underrated leadership skill today."
 
--- Otto Scharmer ---
Founder of Theory-U
MIT Sloan School of Management.

 

เกี่ยวกับ IDGs

เป้าหมายการพัฒนาด้านใน ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 2020 โดยมูลนิธิ Ekskäret, The New Division และมูลนิธิ 29k ร่วมกับกลุ่มนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ปฏิบัติงานในการพัฒนาความเป็นผู้นำและความยั่งยืน

IDGs มุ่งหวังที่จะลดความซับซ้อนและทำให้สามารถเข้าถึงความรู้ในสาขานี้ที่มีอยู่แล้ว พื้นฐานของงานของเรามีพื้นฐานมาจากความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการพัฒนาด้านใน และสิ่งที่จำเป็นในการสนับสนุนอนาคตที่ยั่งยืน ผ่านการสืบค้น 3 ข้อ ได้แก่

1.

การสังเคราะห์ความซับซ้อนของการพัฒนาด้านใน ให้เป็นกรอบงานที่มีชื่อเรียก สามารถทำความเข้าใจ และสื่อสารได้

2.

เราจะพัฒนาทักษะเหล่านี้ร่วมกันอย่างไร ซึ่งส่งผลให้เกิดการรวบรวมแนวทางปฏิบัติและวิธีการที่เข้าถึงได้ฟรี ในชุดเครื่องมือ IDG การริเริ่มนี้ได้รับความสนใจอย่างมากจากทั่วโลก โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดครั้งแรกที่สตอกโฮล์มมากกว่า 800 คน (ผ่านการถ่ายทอดสด) และมากกว่า 250 ศูนย์รวมชุมชน (Hubs) ที่ทำให้ IDG มีชีวิตขึ้นมาในระดับท้องถิ่น

3.

ในปี 2566 IDGs วางแผนที่จะบูรณาการมุมมองระดับโลก เกี่ยวกับการพัฒนาผู้ใหญ่ ในกรอบการทำงานและชุดเครื่องมือเพิ่มเติม การประชุมสุดยอด IDGs ครั้งที่สองในปี 2566 จะนำประชาคมโลกมารวมตัวกันที่สตอกโฮล์ม และงานต่อๆ ไป จะเกิดขึ้นเพื่อหล่อเลี้ยงศูนย์รวมชุมชน (Hubs) เครือข่าย นักวิจัย และบริษัทต่างๆ

 

แปลและเรียบเรียง โดย InnerCorner.com

References: www.innerdevelopmentgoals.org

HomeRoom Personal Websites for Inner Development
เขียน 11 ก.ค. 2566 08:37
ปรับแก้ 18 มี.ค. 2567 21:42